>>>.............>>>.....ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั้น ถ้าเราไม่ลงมือทำ มันก็ไม่ประสบผลสำเร็จ.....<<<.............<<<

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

Assignment 4

1.ให้นักศึกษาศึกษา Gadget ต่างๆ เพื่อหาคำตอบว่าการใช้งานใน Gadget นั้นๆสามารถทำอะไรได้บ้างและอย่างไร


Gadget Newsreel


1.ชื่อหัวข้อข่าว เช่นข่าวเกี่ยวกับอะไร
2.จะให้ข่าวที่จะมาแสดงเกี่ยวข้องกับอะไร อย่างตัวอย่างใส่ Obama ก็จะดึงข่าวที่เกี่ยวกับ Obama มาลงในบล๊อกของเราครับ
3.เมื่อเปิดข่าวมาอ่านจะแสดงในหน้าใหม่
4.ตัวอย่างของข่าวครับ

ตัวอย่างที่แสดงจริงเมื่อตั้งค่าเสร็จ


2.ให้นักศึกษาสร้าง  Gadget เพิ่ม 1 อย่างจากที่ได้ศึกษาจากข้อ 1

      นำเสนองานในชั้นเรียนคราวหน้า เพื่อให้เพื่อนๆได้เรียนรู้ร่วมกัน

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้ในสาขาวิชาสังคม  1 ระบบ ตามหลัก IPO ในแต่ละองค์ประกอบ ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดในแต่ละองค์ประกอบนั้นๆ มาด้วย
ยกตัวอย่างระบบการสอนของวิชาประวัติศาสตร์ไทย
I = Input (รับข้อมูลเข้า) การสอนวิชาประวัติศาสตร์ แน่นอนที่สุดผู้สอนก็ต้องเตรียมข้อมูลในการสอนให้กับผู้เรียน กล่าวคือเตรียมเนื้อหาข้อมูลของวิชาประวัติศาสตร์ไทย หลังจากเตรียมเนื้อหาแล้ว ถ้าขาดสถานที่ทำการเรียนการสอนแล้วคงจะไม่สะดวกในหลายๆเรื่อง อีกสิ่งที่ต้องเตรียมคือสถานที่มนการเรียนการสอน ในสถานที่เรียนก็ต้องมี ส่วนประกอบย่อยๆ เช่น โต๊ะเรียน เก้าอี้เรียน กระดานดำ กระดานบอร์ด เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือจะเป็น เครื่องฉายภาพ ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ที่เอยมาล้วนจำเป็นต่อการเรียนการสอน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น Input การรับข้อมูลเข้า ทั้งนั้น

P = Process (ประมวลผลข้อมูล) การเรียนที่มีคุณภาพ จะเกิดขึ้นได้ถ้าผู้เรียนมีความเข้าใจ หมายความว่าผู้สอนต้องมีกลวิธี หรือเทคนิคในการสอน และยิ่งเป็นวิชาที่ต้องใช้ความเข้าใจและความจำมากอย่างวิชาประวัติศาสตร์ไทยแล้ว ผู้สอนต้องมีความพยายามอย่างมากเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ และจำได้ สรุปที่กล่าวมา เนื้อหาในการสอน และเทคนิคในการสอน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก

O = Output (แสดงผลลัพธ์) หลังจากที่ มีอุปกรณ์การเรียน มีที่เรียน มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีผู้สอนที่สอนเข้าใจแล้ว แน่นอนที่สุดว่าผลลัพธ์ออกมาย่อมดี แต่จะดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับทั้งสองปัจจัยข้างต้น ถ้าปัจจัยข้างต้นดีแล้ว ผลลัพธ์ก็จะได้ผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถ ผู้เรียนคนนั้นอาจจะได้ เกรด A ก็เป็นได้ แต่ถ้าปัจจัยข้างต้นไม่ดี หรือไม่พร้อมแล้ว ผลลัพธ์ก็จะได้ผู้เรียนที่รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ผู้เรียนคนนั้นอาจจะได้ เกรด C, D ก็เป็นได้





วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignmeat 2

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่? ถ้าเป็น ให้บอกให้ได้ว่า I-P-O มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System มีกระบวนการดังต่อไปนี้
การผลิตน้ำตาลเป็น ระบบ system เพราะ การผลิตน้ำตาลทราย มีกระบวนการ มีขั้นมีตอน ตั้งแต่การปลูกอ้อย การสกัดน้ำตาล และอื่นๆ อีกหลานขั้นตอน จากขั้นตอนข้างต้นจึงกล่าวได้ว่า การผลิตน้ำตาลทรายเป็น ระบบ

I (Input)
1. การเตรียมดิน
          1.1 ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ การคมนาคมสะดวก
          1.2 ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
          1.3 การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก
2. การปลูก 
          2.1 ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
         2.2 การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย

3. การใส่ปุ๋ย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม
4. การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้
5. การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน


P (Process)
1. การสกัดน้ำอ้อย   อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ เมื่อเข้าสู่กระบวนการสกัดน้ำอ้อย อ้อยจะเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด)  น้ำอ้อยที่ได้จากชุดลูกหีบ จะถูกปั๊มไปผ่านตะแกรงกรองกากอ้อย แล้วส่งเข้าสู่กรรมวิธีทางวิศวกรรมเคมี เพื่่อรักษาคุณภาพน้ำอ้อยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งได้น้ำอ้อยใส
2. การต้ม น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
3. การเคี่ยวน้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ
5. การอบ ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ Dryer  เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไปเป็นน้ำตาลทราย

O (Output)
สิ่งที่ได้คือ
1. น้ำตาลทราย
2. กากน้ำตาล
3. ชานอ้อย





http://oan.cdmediaguide.co.th/mitrphol/onweb/thai-allSUGAR-04.htm